ภาคกลางมีกี่จังหวัด มีจังหวัดอะไรบ้าง?

คำถาม .... ภาคกลางมีกี่จังหวัด มีจังหวัดอะไรบ้าง?

เฉลย ...
ภาคกลางมี 21 จังหวัด และ 1 เขตปกครองรูปแบบพิเศษ ได้แก่
1. กรุงเทพมหานคร (เขตปกครองรูปแบบพิเศษ มีสถานะเทียบเท่าจังหวัด)
2. จังหวัดกำแพงเพชร
3. จังหวัดชัยนาท
4. จังหวัดนครนายก
5. จังหวัดนครปฐม
6. จังหวัดนครสวรรค์
7. จังหวัดนนทบุรี
8. จังหวัดปทุมธานี
9. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
10. จังหวัดพิจิตร
11. จังหวัดพิษณุโลก
12. จังหวัดเพชรบูรณ์
13. จังหวัดลพบุรี
14. จังหวัดสมุทรปราการ
15. จังหวัดสมุทรสงคราม
16. จังหวัดสมุทรสาคร
17. จังหวัดสระบุรี
18. จังหวัดสิงห์บุรี
19. จังหวัดสุโขทัย
20. จังหวัดสุพรรณบุรี
21. จังหวัดอ่างทอง
22. จังหวัดอุทัยธานี


แผนที่ภาคกลางอย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ


การแบ่งภาคกลางเป็น 21 จังหวัดนี้ถูกแบ่งโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นการแบ่งภาคอย่างเป็นทางการ โดยใช้หลักการที่ว่าประเทศไทยมี 6 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ในขณะที่คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้ภาคกลางประกอบด้วย 8 จังหวัด และเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 เขต (กรุงเทพมหานคร, มีสถานะเทียบเท่าจังหวัด) ดังนี้

1. กรุงเทพมหานคร
2. จังหวัดชัยนาท
3. จังหวัดนนทบุรี
4. จังหวัดปทุมธานี
5. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
6. จังหวัดลพบุรี
7. จังหวัดสระบุรี
8. จังหวัดสิงห์บุรี
9. จังหวัดอ่างทอง

แผนที่ภาคกลางโดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


นอกจากนี้ยังมีการแบ่งภาคในระบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นแบบไม่เป็นทางการ โดยจะจัดแบ่งประเทศไทยออกเป็น 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ในการแบ่งภาคแบบนี้ ภาคกลางจะประกอบไปด้วยจังหวัดต่าง ๆ 25 จังหวัด กับ 1 เขตปกครองรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานคร) จังหวัดในภาคกลางของระบบนี้ ได้แก่

1. กรุงเทพมหานคร
2. จังหวัดกาญจนบุรี
3. จังหวัดจันทบุรี
4. จังหวัดฉะเชิงเทรา
5. จังหวัดชลบุรี
6. จังหวัดชัยนาท
7. จังหวัดตราด
8. จังหวัดนครนายก
9. จังหวัดนครปฐม
10. จังหวัดนนทบุรี
11. จังหวัดปทุมธานี
12. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
13. จังหวัดปราจีนบุรี
14. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
15. จังหวัดเพชรบุรี
16. จังหวัดระยอง
17. จังหวัดราชบุรี
18. จังหวัดลพบุรี
19. จังหวัดสมุทรปราการ
20. จังหวัดสมุทรสงคราม
21. จังหวัดสมุทรสาคร
22. จังหวัดสระแก้ว
23. จังหวัดสระบุรี
24. จังหวัดสิงห์บุรี
25. จังหวัดสุพรรณบุรี
26. จังหวัดอ่างทอง


แผนที่ภาคกลางแบบดั้งเดิม ในระบบ 4 ภาค (เหนือ กลาง อีสาน และใต้)


ลักษณะทางภูมิศาสตร์

ภาคกลางมีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ มีภูเขาและพื้นที่สูงไม่มาก เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของประเทศไทยเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีน้ำใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตรกรรมตลอดทั้งปี มีแม่น้ำขนาดใหญ่ไหลผ่านหลายสาย โดยมีแม่น้ำที่สำคัญคือแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ภาคกลางมีพื้นที่รวม 91,798.64 ตารางกิโลเมตร หรือ 35,443.65 ตารางไมล์ มีประชากร 20,112,101 คน (31 ธันวาคม 2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)


อาณาเขตของภาคกลาง
ทิศเหนือ ติดกับภาคเหนือ
ทิศใต้ ติดกับอ่าวไทย ภาคตะวันออก และบางส่วนของภาคตะวันตก
ทิศตะวันออก ติดกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศตะวันติก ติดกับภาคตะวันตก

รายละเอียดจังหวัดในภาคกลาง

1. กรุงเทพมหานคร
    - พื้นที่ 1,568.737 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 5,494,932 คน (พ.ศ. 2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
    - แบ่งการปกครองออกเป็น 50 เขต ดังนี้
  1. เขตพระนคร
  2. เขตดุสิต
  3. เขตหนองจอก
  4. เขตบางรัก
  5. เขตบางเขน
  6. เขตบางกะปิ
  7. เขตปทุมวัน
  8. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
  9. เขตพระโขนง
  10. เขตมีนบุรี
  11. เขตลาดกระบัง
  12. เขตยานนาวา
  13. เขตสัมพันธวงศ์
  14. เขตพญาไท
  15. เขตธนบุรี
  16. เขตบางกอกใหญ่
  17. เขตห้วยขวาง
  18. เขตคลองสาน
  19. เขตตลิ่งชัน
  20. เขตบางกอกน้อย
  21. เขตบางขุนเทียน
  22. เขตภาษีเจริญ
  23. เขตหนองแขม
  24. เขตราษฎร์บูรณะ
  25. เขตบางพลัด
  26. เขตดินแดง
  27. เขตบึงกุ่ม
  28. เขตสาทร
  29. เขตบางซื่อ
  30. เขตจตุจักร
  31. เขตบางคอแหลม
  32. เขตประเวศ
  33. เขตคลองเตย
  34. เขตสวนหลวง
  35. เขตจอมทอง
  36. เขตดอนเมือง
  37. เขตราชเทวี
  38. เขตลาดพร้าว
  39. เขตวัฒนา
  40. เขตบางแค
  41. เขตหลักสี่
  42. เขตสายไหม
  43. เขตคันนายาว
  44. เขตสะพานสูง
  45. เขตวังทองหลาง
  46. เขตคลองสามวา
  47. เขตบางนา
  48. เขตทวีวัฒนา
  49. เขตทุ่งครุ
  50. เขตบางบอน
2. จังหวัดกำแพงเพชร
    - พื้นที่ 8,607.490 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 708,775 คน (พ.ศ. 2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
3. จังหวัดชัยนาท
    - พื้นที่ 2,469.746 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 318,308 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
4. จังหวัดนครนายก
    - พื้นที่ 2,122.00 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 260,406 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
    - แบ่งการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ 41 ตำบล 403 หมู่บ้าน
5. จังหวัดนครปฐม
    - พื้นที่ 2,168.327 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 921,882 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
6. จังหวัดนครสวรรค์
    - พื้นที่ 9,597.677 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 1,028,814 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
7. จังหวัดนนทบุรี
    - พื้นที่ 622.303 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 1,288,637 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
    - แบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ 52 ตำบล 424 หมู่บ้าน
8. จังหวัดปทุมธานี
    - พื้นที่ 1,525.856 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 1,201,532 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
9. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    - พื้นที่ 2,500.656 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 820,417 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
10. จังหวัดพิจิตร
    - พื้นที่ 4,531.013 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 525,944 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
11. จังหวัดพิษณุโลก
    - พื้นที่ 10,815.854 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 844,494 คน (พ.ศ.2564, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
12. จังหวัดเพชรบูรณ์
    - พื้นที่ 12,668.416 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 973,386 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
    - แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ 117 ตำบล 1,430 หมู่บ้าน
13. จังหวัดลพบุรี
    - พื้นที่ 6,199.753 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 735,293 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
    - แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ 121 ตำบล 1,122 หมู่บ้าน
14. จังหวัดสมุทรปราการ
    - พื้นที่ 1,004.092 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 1,360,227 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
    - แบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ 50 ตำบล 405 หมู่บ้าน
15. จังหวัดสมุทรสงคราม
    - พื้นที่ 416.707 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 189,453 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
    - แบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ 36 ตำบล 284 หมู่บ้าน
16. จังหวัดสมุทรสาคร
    - พื้นที่ 872.347 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 589,428 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
    - แบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ 40 ตำบล 290 หมู่บ้าน
17. จังหวัดสระบุรี
    - พื้นที่ 3,576.486 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 638,582 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
    - แบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ 111 ตำบล 965 หมู่บ้าน
18. จังหวัดสิงห์บุรี
    - พื้นที่ 822.478 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 202,797 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
    - แบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ 43 ตำบล 364 หมู่บ้าน
19. จังหวัดสุโขทัย
    - พื้นที่ 6,596.092 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 581,652 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
    - แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 86 ตำบล 843 หมู่บ้าน
20. จังหวัดสุพรรณบุรี
    - พื้นที่ 5,358.008 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 830,695 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
    - แบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ 110 ตำบล 977 หมู่บ้าน
21. จังหวัดอ่างทอง
    - พื้นที่ 968.372 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 272,587 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
    - แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 73 ตำบล 513 หมู่บ้าน
22. จังหวัดอุทัยธานี
    - พื้นที่ 6,730.246 ตารางกิโลเมตร
    - ประชากร 323,860 คน (พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
    - แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ 70 ตำบล 632 หมู่บ้าน

ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



อย่าเพิ่งซื้อบ้าน ถ้ายังไม่รู้สิ่งนี้ !!!

ซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง?

คำถาม ... จะซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง? เฉลย ... บ้านคือหนึ่งในปัจจัย 4 ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องการ และในการซื้อบ้านนั้นเป็นการตัดสินใจทางการเงินค...

ความรู้รอบตัว...แนะนำ