จำนวนประชากรประเทศไทย พ.ศ. 2566 (ล่าสุด) แยกรายจังหวัดและรายภาค

ประเทศไทยของเรากำลังเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ มีเด็กเกิดใหม่น้อยลงเรื่อยๆ จนน้อยกว่าจำนวนผู้เสียชีวิต ในขณะที่ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้นอันเนื่องมาจากการแพทย์และโภชนาการที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบสังคมที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา

ณ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของประเทศไทย ได้รายงานว่าประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 66,052,615 คน แบ่งเป็นเพศชายไทย 32,224,008 คน เพศหญิงไทย 33,828,607 คน โดยมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายจำนวน 1,604,599 คน



จำนวนประชากรประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2566 แยกรายจังหวัด มีดังต่อไปนี้


ประชากรประเทศไทย พ.ศ. 2566 แยกรายจังหวัด

ลำดับ
จังหวัด
จำนวนประชากร (คน)
1. กรุงเทพมหานคร 5,471,588
2. จังหวัดกระบี่ 482,121
3. จังหวัดกาญจนบุรี 895,281
4. จังหวัดกาฬสินธุ์ 968,065
5. จังหวัดกำแพงเพชร 704,948
6. จังหวัดขอนแก่น 1,779,373
7. จังหวัดจันทบุรี 536,436
8. จังหวัดฉะเชิงเทรา 730,543
9. จังหวัดชลบุรี 1,618,066
10. จังหวัดชัยนาท 316,220
11. จังหวัดชัยภูมิ 1,113,378
12. จังหวัดชุมพร 508,857
13. จังหวัดเชียงราย 1,298,977
14. จังหวัดเชียงใหม่ 1,797,075
15. จังหวัดตรัง 637,017
16. จังหวัดตราด 227,052
17. จังหวัดตาก 691,714
18. จังหวัดนครนายก 260,117
19. จังหวัดนครปฐม 924,521
20. จังหวัดนครพนม 714,284
21. จังหวัดนครราชสีมา 2,625,794
22. จังหวัดนครศรีธรรมราช 1,540,953
23. จังหวัดนครสวรรค์ 1,021,883
24. จังหวัดนนทบุรี 1,308,092
25. จังหวัดนราธิวาส 819,162
26. จังหวัดน่าน 472,722
27. จังหวัดบึงกาฬ 420,487
28. จังหวัดบุรีรัมย์ 1,573,230
29. จังหวัดปทุมธานี 1,219,199
30. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 550,977
31. จังหวัดปราจีนบุรี 499,563
32. จังหวัดปัตตานี 737,077
33. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 822,106
34. จังหวัดพะเยา 458,287
35. จังหวัดพังงา 267,057
36. จังหวัดพัทลุง 520,598
37. จังหวัดพิจิตร 521,907
38. จังหวัดพิษณุโลก 841,729
39. จังหวัดเพชรบุรี 483,668
40. จังหวัดเพชรบูรณ์ 967,421
41. จังหวัดแพร่ 426,331
42. จังหวัดภูเก็ต 423,599
43. จังหวัดมหาสารคาม 937,915
44. จังหวัดมุกดาหาร 351,595
45. จังหวัดแม่ฮ่องสอน 287,644
46. จังหวัดยโสธร 528,878
47. จังหวัดยะลา 549,946
48. จังหวัดร้อยเอ็ด 1,284,836
49. จังหวัดระนอง 193,371
50. จังหวัดระยอง 771,189
51. จังหวัดราชบุรี 864,746
52. จังหวัดลพบุรี 729,697
53. จังหวัดลำปาง 711,478
54. จังหวัดลำพูน 398,440
55. จังหวัดเลย 635,142
56. จังหวัดศรีสะเกษ 1,450,333
57. จังหวัดสกลนคร 1,142,657
58. จังหวัดสงขลา 1,431,959
59. จังหวัดสตูล 325,470
60. จังหวัดสมุทรปราการ 1,372,970
61. จังหวัดสมุทรสงคราม 187,993
62. จังหวัดสมุทรสาคร 592,033
63. จังหวัดสระแก้ว 562,902
64. จังหวัดสระบุรี 638,826
65. จังหวัดสิงห์บุรี 201,439
66. จังหวัดสุโขทัย 577,866
67. จังหวัดสุพรรณบุรี 826,391
68. จังหวัดสุราษฎร์ธานี 1,075,788
69. จังหวัดสุรินทร์ 1,367,842
70. จังหวัดหนองคาย 514,021
71. จังหวัดหนองบัวลำภู 506,872
72. จังหวัดอ่างทอง 270,726
73. จังหวัดอำนาจเจริญ 374,137
74. จังหวัดอุดรธานี 1,558,528
75. จังหวัดอุตรดิตถ์ 439,629
76. จังหวัดอุทัยธานี 322,273
77. จังหวัดอุบลราชธานี 1,869,608

จากตารางด้านบนจะพบว่ากรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่หรือจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีประชากร 5,471,588 คน ส่วนจังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดคือ จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีประชากรเพียง 187,993 คนเท่านั้น


10 จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย 2566

อันดับ
จังหวัด
จำนวนประชากร (คน)
    1 กรุงเทพมหานคร           5,471,588
    2 จังหวัดครราชสีมา 2,625,794
    3 จังหวัดอุบลราชธานี 1,869,608
    4 จังหวัดเชียงใหม่ 1,797,075
    5 จังหวัดขอนแก่น 1,779,373
    6 จังหวัดชลบุรี 1,618,066
    7 จังหวัดบุรีรัมย์ 1,573,230
    8 จังหวัดอุดรธานี 1,558,528
    9 จังหวัดนครศรีธรรมราช 1,540,953
   10 จังหวัดศรีสะเกษ 1,450,333



10 จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดในประเทศไทย 2566

อันดับ
จังหวัด
จำนวนประชากร (คน)
    1 จังหวัดสมุทรสงคราม 187,993
    2 จังหวัดระนอง 193,371
    3 จังหวัดสิงห์บุรี 201,439
    4 จังหวัดตราด 227,052
    5 จังหวัดนครนายก 260,117
    6 จังหวัดพังงา ‎267,057
    7 จังหวัดอ่างทอง 270,726
    8 จังหวัดแม่ฮ่องสอน 287,644
    9 จังหวัดชัยนาท 316,220
   10 จังหวัดอุทัยธานี 322,273


จำนวนประชากรแยกรายภาค
  • ภาคเหนือ : 6,290,583 คน
  • ภาคกลาง : 20,099,945 คน
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : 21,716,975 คน
  • ภาคใต้ : 9,512,975 คน
  • ภาคตะวันออก : 4,945,751 คน
  • ภาคตะวันตก : 3,486,386 คน

ข้อมูลจำนวนประชากรจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยนี้ เป็นข้อมูลประชากรที่ได้มีการรายงานการเกิด การตาย การย้ายถิ่นฐานอย่างเป็นทางการเท่านั้น ยังไม่ได้รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศภายใต้ข้อตกลงด้านแรงงาน (แรงงานถูกกฎหมาย) และผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยแบบผิดกฎหมาย เช่น แรงงานเถื่อน เป็นต้น ซึ่งแรงงานทั้งสองประเภทนี้มีอยู่จำนวนหลายล้านคน


ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



อย่าเพิ่งซื้อบ้าน ถ้ายังไม่รู้สิ่งนี้ !!!

ซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง?

คำถาม ... จะซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง? เฉลย ... บ้านคือหนึ่งในปัจจัย 4 ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องการ และในการซื้อบ้านนั้นเป็นการตัดสินใจทางการเงินค...

ความรู้รอบตัว...แนะนำ