เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร | ข้อมูลเขต สถานที่ติดต่อ และเบอร์โทรศัพท์

เขตบางพลัด เป็น 1 ใน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่หนาแน่นมาก รวมถึงเป็นแหล่งการค้าการขายที่คึกคัก รวมถึงยังเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่าและแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร

เขตบางพลัดเดิมที่มีชื่อว่าอำเภอบางพลัด จังหวัดพระนคร ต่อมาถูกลดฐานะลงเป็นตำบลบางพลัด อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี 

ต่อมาเมื่อจังหวัดธนบุรีถูกยุบรวมกับกรุงเทพในปี พ.ศ. 2514 ในชื่อจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงเทพมหานครในปีต่อมาตามลำดับนั้น ตำบลบางพลัดจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็นแขวงบางพลัด เขตบางกอกน้อย เพื่อให้เข้ากับรูปแบบการบริหารราชการในรูปแบบใหม่

ต่อมาเมื่อชุมชนมีการขยายใหญ่ขึ้น มีประชากรเข้ามาอาศัยมากขึ้น การบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชนเริ่มไม่คล่องตัว กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกพื้นที่ 4 แขวงของเขตบางกอกน้อยออกมาตั้งเขตใหม่ ได้แก่ แขวงบางพลัด แขวงบางอ้อ แขวงบางบำหรุ และแขวงบางยี่ขัน โดยให้ชื่อเขตใหม่นี้ว่า เขตบางพลัด เมือวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532


ภาพแสดงที่ตั้งเขตบางพลัด

ข้อมูลสำคัญของเขตบางพลัด

พื้นที่ : 11.360 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 87,475 คน (2565)
คำขวัญ : พระแซกคำล้ำค่า แข่งเรือพายเจ้าพระยา งามสง่าพระราม 8

เขตบางพลัด แบ่งการปกครองออกเป็น 4 แขวง ดังนี้

  • แขวงบางพลัด
  • แขวงบางอ้อ
  • แขวงบางบำหรุ
  • แขวงบางยี่ขัน

สถานที่ติดต่อ : สำนักงานเขตบางพลัด เลขที่ 39 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

โทรศัพท์ : 0 2424 3777

รหัสไปรษณีย์ : 10700

อาณาเขต
ทิศเหนือ - ติดต่อกับอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ทิศตะวันออก - ติดต่อกับเขตบางซื่อ เขตดุสิต และเขตพระนคร (มีแม่น้ำเจ้าพระยาคั่นกลาง)
ทิศใต้ - ติดต่อกับเขตบางกอกน้อย
ทิศตะวันตก - ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน


แผนที่เขต
บางพลัด



ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร | ข้อมูลแขวง พื้นที่ ประชากร รหัสไปรษณีย์ สถานที่ติดต่อ

แขวงบวรนิเวศ เป็น 1 ในจำนวน 12 แขวงของเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นแขวงขนาดเล็กแขวงหนึ่งของเขตพระนคร สภาพโดยทั่วไปเป็นสถานที่ราชการ โบราณสถาน และวัดวาอาราม เรียกได้ว่าเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่าและแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญอีกจุดหนึ่งของกรุงเทพมหานคร

สถานที่สำคัญภายในแขวงบวรนิเวศ เช่น โลหะปราสาทวัดราชนัดดารามวรวิหาร อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และโรงเรียนสตรีวิทยา เป็นต้น


ภาพแสดงที่ต้งแขวงบวรนิเวศ

อาณาเขต


ข้อมูลสำคัญของแขวงบวรนิเวศ


สถานที่ติดต่อ

สำนักงานเขตพระนคร เลขที่ 78 ซอยสามเสน 3 (วัดสามพระยา) ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

แผนที่แขวงบวรนิเวศ



ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต

จังหวัดภูเก็ต เป็น 1 ใน 14 จังหวัดของภาคใต้ แบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ 17 ตำบล 104 หมู่บ้าน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 19 แห่ง แบ่งออกเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 2 แห่ง เทศบาลตำบล 9 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้


แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต

รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต

1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง

  • องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต

2. เทศบาลนคร 1 แห่ง

  • เทศบาลนครภูเก็ต

3. เทศบาลเมือง 2 แห่ง

  • เทศบาลเมืองกะทู้ 
  • เทศบาลเมืองป่าตอง

4. เทศบาลตำบล 9 แห่ง

  • เทศบาลตำบลกะรน
  • เทศบาลตำบลรัษฎา
  • เทศบาลตำบลราไวย์
  • เทศบาลตำบลวิชิต
  • เทศบาลตำบลฉลอง
  • เทศบาลตำบลเชิงทะเล
  • เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  • เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  • เทศบาลตำบลป่าคลอก

5. องค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่ง

  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรี
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสาคู
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกมลา


รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต แยกรายอำเภอ

1. อำเภอเมืองภูเก็ต : 7 แห่ง (1 เทศบาลนคร, 5 เทศบาลตำบล, 1 อบต.)

  • เทศบาลนครภูเก็ต
  • เทศบาลตำบลกะรน
  • เทศบาลตำบลรัษฎา
  • เทศบาลตำบลราไวย์
  • เทศบาลตำบลวิชิต
  • เทศบาลตำบลฉลอง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว
2. อำเภอถลาง : 8 แห่ง (4 เทศบาลตำบล, 4 องค์การบริหารส่วนตำบล)
  • เทศบาลตำบลเชิงทะเล
  • เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  • เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  • เทศบาลตำบลป่าคลอก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรี
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสาคู
3. อำเภอกะทู้ : 3 แห่ง (2 เทศบาลเมือง, 1 องค์การบริหารส่วนตำบล)

  • เทศบาลเมืองกะทู้ 
  • เทศบาลเมืองป่าตอง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกมลา


ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร | ข้อมูลเขต สถานที่ติดต่อ และเบอร์โทรศัพท์

เขตสายไหม เป็น 1 ใน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ ฝั่งพระนคร ติดกับอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี สภาพโดยทั่วไปเป็นเขตที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นทั้งพื้นที่เกษตรกรรมและพานิชยกรรม มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของกรุงเทพมหานครรองจากเขตคลองสามวา จำนวน 208,928 คน (2565)

เขตสายไหมเดิมมีฐานะเป็นตำบลสายไหม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ต่อมาได้ถูกโอนย้ายมาขึ้นกับอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร ต่อมาเมื่อจังหวัดพระนครถูกยุบรวมกับจังหวัดธนบุรีในปี พ.ศ. 2514 แล้วจัดตั้งจังหวัดใหม่ชื่อว่าจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515 ตามลำดับนั้น ตำบลสายไหมจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็นแขวงสายไหม เขตบางเขต เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารราชการรูปแบบใหม่

ต่อมาเมื่อพื้นที่มีความเจริญมากขึ้น มีประชากรมากขึ้น กระทรวงมหาดไทยจึงตัดแบ่งพื้นที่เขตบางเขนจำนวน 3 แขวง ได้แก่ แขวงสายไหม แขวงออเงิน และแขวงคลองถนน ออกมาตั้งเป็นเขตใหม่ ชื่อว่าเขตสายไหม เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540




ข้อมูลสำคัญของเขตสายไหม

พื้นที่ : 44.615 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 208,928 คน (2565)
คำขวัญ : อาคารคุ้มเกล้าตระการตา มาตรฐานการศึกษากว้างไกล แพร่ไสวการเกษตร วิเศษการกีฬา ศรัทธาในคุณธรรม

เขตสายไหม แบ่งการปกครองออกเป็น 3 แขวง ดังนี้

  • แขวงสายไหม
  • แขวงออเงิน
  • แขวงคลองถนน

สถานที่ติดต่อ : สำนักงานเขตสายไหม เลขที่ 222 หมู่ที่ 3 ถนนสุขาภิบาล 5 แขวงออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 10220

โทรศัพท์ : 0 2158 7349

รหัสไปรษณีย์ : 10220

อาณาเขต
ทิศเหนือ - ติดต่อกับอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ทิศตะวันออก - ติดต่อกับอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และเขตคลองสามวา
ทิศใต้ - ติดต่อกับเขตบางเขน
ทิศตะวันตก - ติดต่อกับเขตดอนเมือง


แผนที่เขต
สายไหม



ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร | ข้อมูลแขวง พื้นที่ ประชากร รหัสไปรษณีย์ สถานที่ติดต่อ

แขวงเสาชิงช้า เป็น 1 ในจำนวน 12 แขวงของเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นแขวงที่มีขนาดเล็ก โดยมีสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเขตการค้า เขตโบราณสถาน และแหล่งที่อยู่อาศัยที่หนาแน่นมาก มีสถานที่สำคัญ ๆ หลายแหล่ง เช่น วัดสุทัศเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร และเสาชิงช้าเป็นต้น โดยชื่อเขตตั้งชื่อตามเสาชิงช้า ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมพวาย (ตรีปวาย) ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ตั้งอยู่หน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร หรือลานคนเมือง ใกล้กับเทวสถานโบสถ์พราหมณ์

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร
  • ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร


ภาพแสดงที่ตั้งแขวงเสาชิงช้า


ข้อมูลสำคัญของแขวงเสาชิงช้า


สถานที่ติดต่อ

สำนักงานเขตพระนคร เลขที่ 78 ซอยสามเสน 3 (วัดสามพระยา) ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

โทรศัพท์ : 0 2628 9066


แผนที่แขวงเสาชิงช้า



ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสงคราม

จังหวัดสมุทรสงคราม เป็น 1 ใน 21 จังหวัดของภาคกลาง แบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ 36 ตำบล 284 หมู่บ้าน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 36 แห่ง แบ่งออกเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 0 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 6 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 26 แห่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้


ตลาดร่มหุบในเขตเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม

รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสงคราม

1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง

  • องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม

2. เทศบาลเมือง 1 แห่ง

  • เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม

3. เทศบาลตำบล 8 แห่ง

  • เทศบาลตำบลบางจะเกร็ง
  • เทศบาลตำบลกระดังงา
  • เทศบาลตำบลบางนกแขวก
  • เทศบาลตำบลบางกระบือ
  • เทศบาลตำบลบางยี่รงค์
  • เทศบาลตำบลอัมพวา
  • เทศบาลตำบลเหมืองใหม่
  • เทศบาลตำบลสวนหลวง

4. องค์การบริหารส่วนตำบล 26 แห่ง

  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนางตะเคียน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางขันแตก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเขิน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลาดใหญ่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมใหญ่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายหาด
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปรก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางคนที
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจอมปลวก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางสะแก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโรงหีบ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางพรม
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองใหม่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางนางลี่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแพรกหนามแดง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดประดู่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปลายโพงพาง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางแค
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแควอ้อม


รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสงคราม แยกรายอำเภอ

1. อำเภอเมืองสมุทรสงคราม : 11 แห่ง (1 เทศบาลเมือง, 1 เทศบาลตำบล, 9 อบต.)

  • เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม
  • เทศบาลตำบลบางจะเกร็ง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนางตะเคียน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางขันแตก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเขิน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลาดใหญ่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมใหญ่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายหาด
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปรก
2. อำเภอบางคนที : 11 แห่ง (4 เทศบาลตำบล, 7 องค์การบริหารส่วนตำบล)
  • เทศบาลตำบลกระดังงา
  • เทศบาลตำบลบางนกแขวก
  • เทศบาลตำบลบางกระบือ
  • เทศบาลตำบลบางยี่รงค์
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางคนที
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจอมปลวก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางสะแก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโรงหีบ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางพรม
3. อำเภออัมพวา : 13 แห่ง (3 เทศบาลตำบล, 10 องค์การบริหารส่วนตำบล)

  • เทศบาลตำบลอัมพวา
  • เทศบาลตำบลเหมืองใหม่
  • เทศบาลตำบลสวนหลวง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองใหม่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางนางลี่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแพรกหนามแดง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดประดู่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปลายโพงพาง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางแค
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแควอ้อม


ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



เขตสาทร กรุงเทพมหานคร | ข้อมูลเขต สถานที่ติดต่อ และเบอร์โทรศัพท์

เขตสาทร เป็น 1 ใน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ตอนกลางของกรุงเทพฯ ฝั่งพระนคร ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา สภาพทั่วไปของเขตเป็นเขตธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร รวมถึงยังเป็นที่ตั้งของสถานทูตต่างประเทศจำนวนมาก

เขตสาทรเดิมเป็นพื้นที่หนึ่งของอำเภอบ้านทะวาย จังหวัดพระนคร ต่อมาอำเภอบ้านทะวายได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอยานนาวา และถูกเปลี่ยนเป็นเขตยานนาวาภายหลังจากจังหวัดพระนครถูกยุบรวมกับจังหวัดธนบุรีเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และกรุงเทพมหานครตามลำดับ

เมื่อเขตยานนาวามีประชากรมากขึ้น ทำให้การบริหารราชการและการให้บริการประชาชนเริ่มไม่ทั่วถึง ทางราชการจึงได้แยกพื้นที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงทุ่งมหาเมฆ ออกมาตั้งเป็นเขตใหม่ชื่อว่า "เขตสาธร" เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ก่อนจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "เขตสาทร" เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2542 เหตุผลก็เนื่องมาจากคำว่า "สาธร" นั้นไม่มีความหมายตามพจนานุกรมนั่นเอง


ภาพแสดงที่ตั้งเขตสาทร

ข้อมูลสำคัญของเขตสาทร

พื้นที่ : 9.326 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 72,648 คน (2565)
คำขวัญ : สำเภาทองล้ำค่า สุสานสวนป่าร่มเย็น เน้นนโยบายเมืองน่าอยู่ สถาบันให้ความรู้มากมี จุดรวมสถานที่แหล่งทูต

เขตสาทร แบ่งการปกครองออกเป็น 3 แขวง ดังนี้

  • แขวงทุ่งวัดดอน
  • แขวงยานนาวา
  • แขวงทุ่งมหาเมฆ

สถานที่ติดต่อ : สำนักงานเขตสาทร เลขที่ 59 ซอยจันทน์ 18/7 แยก 1 (หน้าเขต) ถนนจันทน์ แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์ : 0 2212 8112

รหัสไปรษณีย์ : 10120

อาณาเขต
ทิศเหนือ - ติดต่อกับเขตบางรัก และเขตปทุมวัน
ทิศตะวันออก - ติดต่อกับเขตคลองเตย และเขตยานนาวา
ทิศใต้ - ติดต่อกับเขตยานนาวา และเขตบางคอแหลม
ทิศตะวันตก - ติดต่อกับเขตคลองสาน (มีแม่น้ำเจ้าพระยาคั่นกลาง)


แผนที่เขต
สาทร



ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



อย่าเพิ่งซื้อบ้าน ถ้ายังไม่รู้สิ่งนี้ !!!

ซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง?

คำถาม ... จะซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง? เฉลย ... บ้านคือหนึ่งในปัจจัย 4 ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องการ และในการซื้อบ้านนั้นเป็นการตัดสินใจทางการเงินค...

ความรู้รอบตัว...แนะนำ