ประเทศไทยแบ่งเป็นกี่ภาค อะไรบ้าง?

คำถาม ... ประเทศไทยแบ่งเป็นกี่ภาค อะไรบ้าง?

เฉลย ...
ประเทศไทยแบ่งออกเป็น 6 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้

การแบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภาคนี้ เป็นการแบ่งโดยสำนักงานราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งประเทศไทยได้ใช้หลักเกณฑ์การแบ่งภาคของสำนักงานราชบัณฑิตยสถานนี้เป็นมาตรฐานในการกำหนดนโยบายทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อที่จะพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ ทั้ง 6 ภาคให้มีความเจริญทัดเทียมกัน

รายละเอียดของแต่ละภาคในประเทศไทย มีดังต่อไปนี้
1. ภาคเหนือ
ภาคเหนือมีพื้นที่รวม 93,690.85 ตารางกิโลเมตร  (36,174.24 ตารางไมล์) มีประชากร 6,341,973 คน (กรมการปกครอง, 31 ธันวาคม 2564) ภาคเหนือมีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงใหญ่สลับซับซ้อน มีพื้นที่ป่าไม้เป็นจำนวนมาก และเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และป่าสงวนแห่งชาติมากมายหลายแห่ง โดยมีจังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดและเป็นศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจของภาค

ภาคเหนือประกอบไปด้วยจังหวัดต่าง ๆ 9 จังหวัด ได้แก่
1. จังหวัดเชียงราย
2. จังหวัดเชียงใหม่
3. จังหวัดลำปาง
4. จังหวัดลำพูน
5. จังหวัดพะเยา
6. จังหวัดน่าน
7. จังหวัดแพร่
8. จังหวัดแม่ฮ่องสอน
9. จังหวัดอุตรดิตถ์

แผนที่ภาคเหนือ

อาณาเขตของภาคเหนือ
ทิศเหนือ ติดกับประเทศพม่าและ ส.ป.ป. ลาว
ทิศใต้ ติดกับภาคกลาง และ ภาคตะวันตก
ทิศตะวันตก ติดกับประเทศพม่า
ทิศตะวันออก ติดกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ ประเทศ ส.ป.ป. ลาว

หมายเหตุ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดแบ่งภาคแตกต่างกันออกไป โดยกำหนดให้ภาคเหนือประกอบได้ด้วยจังหวัด 17 จังหวัด คือ 9 จังหวัดข้างต้นเป็นภาคเหนือตอนบน และอีก 8 จังหวัดเป็นภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิจิตร  จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี

2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน เป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ่มากกว่าภาคอื่น ๆ ทุกภาค กล่าวคือมีพื้นที่ทั้งหมด 168,854 ตารางกิโลเมตร (65,195 ตารางไมล์) คิดเป็น 33.17% ของเนื้อที่ทั้งหมดของประเทศไทย มีประชากรทั้งหมด 21,916,034 คน (กรมการปกครอง, 31 ธันวาคม 2564) ซึ่งมากกว่าภาคอื่น ๆ เช่นกัน โดยมีจังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีเนื้อที่ 20,493.96 ตารางกิโลเมตร


แผนที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบบนที่สูง มีภูเขาสูงอยู่บ้างทางตอนบนและตอนล่างของภาค ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกมันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ข้าวเหนียว และข้าวหอมมะลิ โดยที่ภาคอีสานเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการทำประมงสำหรับผู้ที่อยู่ใกล้แม่น้ำโขง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล อีกด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี  20 จังหวัด ได้แก่
1. จังหวัดกาฬสินธุ์
2. จังหวัดขอนแก่น
3. จังหวัดชัยภูมิ
4. จังหวัดนครพนม
5. จังหวัดนครราชสีมา
6. จังหวัดบึงกาฬ
7. จังหวัดบุรีรัมย์
8. จังหวัดมหาสารคาม
9. จังหวัดมุกดาหาร
10. จังหวัดยโสธร
11. จังหวัดร้อยเอ็ด
12. จังหวัดเลย
13. จังหวัดศรีสะเกษ
14. จังหวัดสกลนคร
15. จังหวัดสุรินทร์
16. จังหวัดหนองคาย
17. จังหวัดหนองบัวลำภู
18. จังหวัดอำนาจเจริญ
19. จังหวัดอุดรธานี
20. จังหวัดอุบลราชธานี

อาณาเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศเหนือ ติด ส.ป.ป. ลาว
ทิศใต้ ติดกับภาคตะวันออก และประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันออก ติดกับ ส.ป.ป. ลาว
ทิศตะวันตก ติดกับภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง

3. ภาคกลาง
ภาคกลางมีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ มีภูเขาน้อยมาก เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของประเทศ และมีแม่น้ำขนาดใหญ่ไหลผ่านหลายสาย โดยแม่น้ำที่สำคัญคือแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง มีพื้นที่รวม 91,798.64 ตารางกิโลเมตร (35,443.65 ตารางไมล์) มีประชากร 20,183,134 คน (กรมการปกครอง, 31 ธันวาคม 2564)

ภาคกลางมีจังหวัดทั้งหมด 21 จังหวัด และ 1 เขตปกครองรูปแบบพิเศษ ได้แก่
1. กรุงเทพมหานคร (เขตปกครองรูปแบบพิเศษ มีสถานะเทียบเท่าจังหวัด)
2. กำแพงเพชร
3. ชัยนาท
4. นครนายก
5. นครปฐม
6. นครสวรรค์
7. นนทบุรี
8. ปทุมธานี
9. พระนครศรีอยุธยา
10. พิจิตร
11. พิษณุโลก
12. เพชรบูรณ์
13. ลพบุรี
14. สมุทรปราการ
15. สมุทรสงคราม
16. สมุทรสาคร
17. สระบุรี
18. สิงห์บุรี
19. สุโขทัย
20. สุพรรณบุรี
21. อ่างทอง
22. อุทัยธานี


แผนที่ภาคกลาง

อาณาเขตของภาคกลาง
ทิศเหนือ ติดกับภาคเหนือ
ทิศใต้ ติดกับอ่าวไทย ภาคตะวันออก และบางส่วนของภาคตะวันตก
ทิศตะวันออก ติดกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทิศตะวันติก ติดกับภาคตะวันตก

4. ภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกนั้นเดิมเป็นส่วนหนึ่งของภาคกลาง ต่อมาจึงได้แยกออกมาเป็นภาคตะวันออก มีเนื้อที่ทั้งหมด 34,380 ตารางกิโลเมตร หรือ 13,270 ตารางไมล์ มีประชากร 4,743,840 คน (กรมการปกครอง, 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ สลับกับเนินเขาและภูเขาเตี้ย ๆ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมง อุตสาหกรรม และงานภาคบริการ โดยที่ภาคตะวันออกนี้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่สำคัญของประเทศไทย เป็นแหล่งปลูกผลไม้คุณภาพดี เช่น ทุเรียน เงาะ และมังคุด เป็นต้น อีกทั้งยังมีชายหาดมากมาย ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกคือ ชายหาดพัทยา จังหวัดชลบุรี มีแม่น้ำสายสำคัญหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำระยอง แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำประแสร์ แม่น้ำตราด และแม่น้ำบางปะกง

ภาคตะวันออกมีจังหวัดทั้งหมด 7 จังหวัด ได้แก่

แผนที่ภาคตะวันออก

อาณาเขตของภาคตะวันออก
ทิศเหนือ ติดกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง
ทิศใต้ ติดกับอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดกับประเทศกัมพูชา

5. ภาคตะวันตก
ภาคตะวันตกมีลักษณะทั่วไปเป็นเทือกเขา (เทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า) ทางฝั่งตะวันตก ส่วนทางฝั่งตะวันออกจะเป็นที่ราบลุ่มที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก และมีบางส่วนที่ติดทะเล มีชายหาดที่สวยงาม เช่น เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น 

ภาคตะวันตกมีพื้นที่ 53,769 ตารางกิโลเมตรและมีประชากร 3,381,719 คน (31 ธันวาคม 2564) ประชากรส่วนใหญ่ในภาคตะวันตกทำอาชีพเพาะปลูก ทั้งข้าว พืชไร่ และพืชสวน ประมง และงานภาคบริการ


แผนที่ภาคตะวันตก


อาณาเขตของภาคตะวันตก
ทิศเหนือ ติดกับภาคเหนือ
ทิศใต้ ติดกับภาคใต้
ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวไทยและภาคกลาง
ทิศตะวันตก ติดกับประเทศเมียนมาร์

6. ภาคใต้
ภาคใต้ของประเทศไทยมีเนื้อที่รวม 70,715.20 ตารางกิโลเมตร หรือ 27,303.29 ตารางไมล์ มีประชากรทั้งหมด 9,290,708 คน  (2558, สำนักงานสถิติแห่งชาติ)  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นราบสลับกับภูเขา มีทิวเขาทางด้านตะวันตกซึ่งเป็นพรมแดนติดกับประเทศพม่า และทิวเขาด้านใต้เป็นแนวเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศมาเลเซีย จังหวัดในภาคใต้ส่วนใหญ่มีพื้นที่ติดกับทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง และมีเกาะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ด้วย คือเกาะภูเก็ต ซึ่งเป็นเกาะที่อยู่ในฝั่งทะเลอันดามัน

ในอดีตภาคใต้เป็นที่ตั้งของอาณาจักรใหญ่ 4 อาณาจักร คือ อาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรนครศรีธรรมราช และอาณาจักรลังกาสุกะ


แผนที่ภาคใต้

อาณาเขตของภาคใต้
- ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งอยู่ในภาคตะวันตก
- ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดกับประเทศมาเลเซีย
- ทิศตะวันตก ติดกับทะเลอันดามัน และประเทศพม่า

นอกจากการแบ่งภาคแบบมาตรฐานข้างต้นแล้ว ยังมีการแบ่งภาคของประเทศไทยในแบบที่แตกแต่งออกไปโดยหน่วยงานราชการต่าง ๆ ซึ่งได้ทำการแบ่งภาคเพื่อประโยชน์ในการให้บริการของหน่วยงานของตนเองอีกหลายแบบ ดังนี้


การแบ่งเป็น 6 ภาค โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ




การแบ่งเป็น 7 ภาค โดยกรมอุตุนิยมวิทยา


การแบ่งแบบ 4 ภาค ของกรมทางหลวง



การแบ่งแบบ 5 ภาคขององค์การโทรศัพท์



การแบ่งแบบ 9 ภาค ตามรหัสไปรษณีย์


ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------




อย่าเพิ่งซื้อบ้าน ถ้ายังไม่รู้สิ่งนี้ !!!

ซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง?

คำถาม ... จะซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง? เฉลย ... บ้านคือหนึ่งในปัจจัย 4 ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องการ และในการซื้อบ้านนั้นเป็นการตัดสินใจทางการเงินค...

ความรู้รอบตัว...แนะนำ