คำถาม ... เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในประเทศไทย มีกี่แห่ง ที่ไหนบ้าง?
เฉลย ...
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในประเทศไทย มี 62 แห่ง
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งแรกของประเทศไทย |
รายชื่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในประเทศไทย มีดังต่อไปนี้
1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ
ที่ตั้ง : อำเภอบ่อพลอย อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
เนื้อที่ : 536,594 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 31 ธ.ค. 2508, 3 ก.พ. 2515, 11 ส.ค. 2520
2. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา
ที่ตั้ง : อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เนื้อที่ : 331,456 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 26 พ.ค. 2515, 16 ก.ย. 2534
3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
ที่ตั้ง : อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอคอนสาร อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
เนื้อที่ : 975,000 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 26 พ.ค. 2515, 8 ม.ค. 2522
4. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว
ที่ตั้ง : อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอมะขาม อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
เนื้อที่ : 465,602 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 4 ก.ย. 2515, 24 ก.ย. 2541
5. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ที่ตั้ง : อำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
เนื้อที่ : 1,737,587 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 4 ก.ย. 2515, 21 พ.ค. 2529, 30 ธ.ค. 2535
หมายเหตุ ... ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534
6. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย
ที่ตั้ง : อำเภอปาย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เนื้อที่ : 738,085 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 13 ธ.ค. 2515, 7 ส.ค. 2529, 24 ธ.ค. 2547
7. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก
ที่ตั้ง : อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
เนื้อที่ : 948,438 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 24 เม.ย. 2517, 21 ส.ค. 2534
หมายเหตุ ... ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534
8. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก
ที่ตั้ง : อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
เนื้อที่ : 1,331,062 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 24 เม.ย. 2517, 21 ส.ค. 2534
หมายเหตุ ... ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534
9. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่
ที่ตั้ง : อำเภอบ้านบึง อำเภอศรีราชา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
เนื้อที่ : 90,437 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 2 ก.ค. 2517
10. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง
ที่ตั้ง : อำเภอคีรีรัฐนิคม อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เนื้อที่ : 722,067 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 18 ธ.ค. 2517, 28 เม.ย. 2526, 24 ต.ค. 2528, 8 พ.ค. 2529
11. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
ที่ตั้ง : อำเภอภูเรือ อำเภอภูหลวง อำเภอด่านซ้าย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
เนื้อที่ : 560,593 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 18 ธ.ค. 2517, 26 ก.ย. 2528, 16 ส.ค. 2534
12. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว
ที่ตั้ง : อำเภอเซกา อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
เนื้อที่ : 116,562 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 2 พ.ค. 2518
13. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด
ที่ตั้ง : อำเภอนาโยง อำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอกงหรา อำเภอตะโหมด อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
อำเภอทุ่งหว้า อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
เนื้อที่ : 791,847.505 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 4 ก.ย. 2518, 26 ส.ค. 2520, 1 ส.ค. 2528, 31 ธ.ค. 2530
14. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม
ที่ตั้ง : อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
เนื้อที่ : 140,845 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 11 ต.ค. 2520, 23 ส.ค. 2523, 30 ธ.ค. 2535
15. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน
ที่ตั้ง : อำเภอสนามชัยเขต อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
อำเภอเขาชะเมา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
เนื้อที่ : 674,352 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 11 ต.ค. 2520, 30 ธ.ค. 2535, 5 ก.ย. 2544
16. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยงและภูทอง
ที่ตั้ง : อำเภอน้ำปาด อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์
อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
เนื้อที่ : 435,320 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 31 ธ.ค. 2520, 20 ก.ย. 2532, 8 เม.ย. 2535
17. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง
ที่ตั้ง : อำเภอรัตภูมิ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
เนื้อที่ : 181,066 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 14 ก.ค. 2521, 31 ธ.ค. 2529, 31 ก.ค. 2560
18. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี
ที่ตั้ง : อำเภอสวนผึ้ง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
เนื้อที่ : 305,820 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 1 ส.ค. 2521
19. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น
ที่ตั้ง : อำเภอแม่ระมาด อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
เนื้อที่ : 733,125 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 10 ส.ค. 2521, 19 ส.ค. 2526
20. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว
ที่ตั้ง : อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
เนื้อที่ : 325,625 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 24 ส.ค. 2521
21. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน
ที่ตั้ง : อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เนื้อที่ : 596,875 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 24 ส.ค. 2521, 19 ส.ค. 2526, 15 ม.ค. 2551
22. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก
ที่ตั้ง : อำเภอขุนหาญ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
เนื้อที่ : 197,500 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 15 ธ.ค. 2521
23. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง
ที่ตั้ง : อำเภอแม่ทา อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
เนื้อที่ : 429,449 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 16 ก.ค. 2523, 31 ธ.ค. 2526, 4 ธ.ค. 2528, 31 ธ.ค. 2529, 15 ม.ค. 2551
24. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองพระยา
ที่ตั้ง : อำเภอปลายพระยา อำเภออ่าวลึก อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เนื้อที่ : 95,988 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 12 พ.ย. 2523, 7 พ.ค. 2536
25. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาช้าง
ที่ตั้ง : อำเภอปง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
อำเภอบ้านหลวง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
เนื้อที่ : 356,926.20 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 31 ธ.ค. 2523, 17 ม.ย. 2531
26. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย
ที่ตั้ง : อำเภออมก๋อย อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
เนื้อที่ : 765,000 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 19 ส.ค. 2526
27. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวง
ที่ตั้ง : อำเภอสอง จังหวัดแพร่
เนื้อที่ : 60,625 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 1 ต.ค. 2527
28. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียง
ที่ตั้ง : อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
เนื้อที่ : 63,125 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 1 ส.ค. 2528
29. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ยวมฝั่งขวา
ที่ตั้ง : อำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เนื้อที่ : 182,500 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 1 ม.ค. 2529
30. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา
ที่ตั้ง : อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
เนื้อที่ : 96,875 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 31 ธ.ค. 2529
31. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุทยานเสด็จในกรม กรมหลวงชุมพรด้านทิศเหนือ (ตอนบน)
ที่ตั้ง : อำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เนื้อที่ : 185,000 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 23 ม.ค. 2531, 26 ก.ย. 2537
32. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุทยานเสด็จในกรม กรมหลวงชุมพรด้านทิศเหนือ (ตอนล่าง)
ที่ตั้ง : อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
เนื้อที่ : 230,620 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 23 ม.ค. 2531, 26 ก.ย. 2537
33. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุทยานเสด็จในกรม กรมหลวงชุมพรด้านทิศใต้
ที่ตั้ง : อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
เนื้อที่ : 196,875 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 23 ม.ค. 2531, 26 ก.ย. 2537
34. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง
ที่ตั้ง : อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
เนื้อที่ : 1,619,280 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 17 เม.ย. 2532, 30 ม.ค. 2537
35. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน
ที่ตั้ง : อำเภอดงหลวง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
อำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
เนื้อที่ : 189,541 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 12 ม.ย. 2533, 8 พ.ย. 2543
36. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา
ที่ตั้ง : อำเภอขุขันธ์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
เนื้อที่ : 237,500 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 28 ธ.ค. 2533
37. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ที่ตั้ง : อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
เนื้อที่ : 123,005.98 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 12 ก.ย. 2534, 10 พ.ย. 2546, 15 ม.ค. 2551
38. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน
ที่ตั้ง : อำเภอท่าฉาง อำเภอบ้านตาขุน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เนื้อที่ : 305,000 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 30 ธ.ค. 2535
39. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม
ที่ตั้ง : อำเภอลำทับ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี
อำเภอวังวิเศษ อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
เนื้อที่ : 97,700 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 28 พ.ค. 2536
40. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ
ที่ตั้ง : อำเภอสังขะ อำเภอบัวเชด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
เนื้อที่ : 313,445 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 29 ธ.ค. 2538, 7 เม.ย. 2559
41. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งระยะ-นาสัก
ที่ตั้ง : อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
อำเภอสวี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
เนื้อที่ : 211,650 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 10 ก.ค. 2539
42. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา
ที่ตั้ง : อำเภอแว้ง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
เนื้อที่ : 391,689 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 3 ต.ค. 2539, 15 ม.ค. 2551
43. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ
ที่ตั้ง : อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เนื้อที่ : 321,250 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 22 พ.ย. 2539
44. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่
ที่ตั้ง : อำเภอปะคำ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
เนื้อที่ : 195,486 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 22 พ.ย. 2539
45. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่
ที่ตั้ง : อำเภอบึงสามพัน อำเภอหนองไผ่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
อำเภอหนองบัวแดง อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ
เนื้อที่ : 408,707 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 10 ม.ย. 2540
46. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ
ที่ตั้ง : อำเภอเชียงคำ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
เนื้อที่ : 231,875 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 10 ม.ย. 2540
47. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่จริม
ที่ตั้ง : อำเภอน้ำปาด อำเภอท่าปลา อำเภอฟากท่า อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
เนื้อที่ : 412,500 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 24 ก.ย. 2541
48. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวายเฉลิมพระเกียรติ
ที่ตั้ง : อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอมะขาม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
เนื้อที่ : 165,796 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 30 ธ.ค. 2541
49. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าควนแม่ยายหม่อน
ที่ตั้ง : อำเภอพะโต๊ะ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
อำเภอกะเปอร์ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง
เนื้อที่ : 290,000 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 24 ก.พ. 2542
50. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง
ที่ตั้ง : อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
เนื้อที่ : 146,845 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 26 พ.ย. 2542
51. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสันปันแดน
ที่ตั้ง : อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เนื้อที่ : 173,125 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 28 ก.ย. 2543
52. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา
ที่ตั้ง : อำเภอเด่นชัย อำเภอสูงเม่น อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
อำเภอท่าปลา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
เนื้อที่ : 146,875 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 11 ต.ค. 2543
53. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสะเมิง
ที่ตั้ง : อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
เนื้อที่ : 121,250 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 31 ต.ค. 2543
54. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเวียงหล้า
ที่ตั้ง : อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เนื้อที่ : 291,610 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 2 พ.ย. 2543
55. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาผึ้ง
ที่ตั้ง : อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
เนื้อที่ : 118,403 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 2 พ.ย. 2543
56. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม
ที่ตั้ง : อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอศรีสำโรง อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย
อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
เนื้อที่ : 213,171 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 5 ก.ย. 2544
57. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าน้ำปาด
ที่ตั้ง : อำเภอบ้านโคก อำเภอฟากท่า อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
เนื้อที่ : 320,197 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 5 ก.ย. 2544
58. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อและภูกระแต
ที่ตั้ง : อำเภอภูหลวง อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
เนื้อที่ : 145,285 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 15 ส.ค. 2550
59. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนปริวรรต
ที่ตั้ง : อำเภอกะปง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา
เนื้อที่ : 138,712.50 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 15 ส.ค. 2550
60. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก-ยอดมน
ที่ตั้ง : อำเภอสิรินธร อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
เนื้อที่ : 219,155 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 23 พ.ย. 2552
61. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากะทูน
ที่ตั้ง : อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
เนื้อที่ : 61,811 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 27 ม.ย. 2559
62. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูขัด
ที่ตั้ง : อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
เนื้อที่ : 150,990 ไร่
ประกาศจัดตั้ง : 31 ส.ค. 2560
หมายเหตุ
1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรทั้งสองฝั่ง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติร่วมกันในชื่อ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เมื่อปี พ.ศ. 2534
2. ประเทศไทยมีพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั้งหมดจำนวน 23,360,696.185 ไร่ หรือราว 37,377 ตารางกิโลเมตร
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย |
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (Wildlife Sanctuary) หมายถึง พื้นที่ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างปลอดภัย เพื่อที่สัตว์ป่าในพื้นที่ดังกล่าวจะได้มีโอกาสสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ตามธรรมชาติได้มากขึ้น รวมถึงลดการล่าสัตว์ป่าให้น้อยลงอีกด้วย
การขึ้นทะเบียนเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่นั้นต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. เป็นบริเวณที่มีสัตว์ป่าชุกชุมและมีสัตว์ป่าชนิดที่หาได้ยาก หรือกำลังจะสูญพันธุ์อาศัยอยู่
2. เป็นบริเวณที่มีแหล่งน้ำแหล่งอาหารและที่หลบภัยของสัตว์ป่าเพียงพอ
3. เป็นพื้นที่ป่าไม้ที่อยู่ห่างไกลจากชุมชนพอสมควร
4. มีสภาพป่าหลายลักษณะอยู่ในผืนเดียวกัน เป็นต้นว่ามีทั้งป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า ฯลฯ ซึ่งจะทำให้มีความหลากหลายทางพืชและสัตว์ป่าสูง
5. จะต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลใด
ประโยชน์จากการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
1. เป็นการป้องกันสัตว์ป่าที่หาได้ยากมิให้ต้องสูญพันธุ์
2. สัตว์ป่าที่มีอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ได้รับความคุ้มครองและปลอดภัยทำให้สามารถสืบพันธุ์และเพิ่มจำนวนมากขึ้น สัตว์ป่าที่เพิ่มขึ้นนี้จะมีโอกาสกระจายไปยังป่าส่วนอื่น ๆ ต่อไป
3. เนื่องจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ ลำธาร แหล่งน้ำ ดิน หิน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ จะได้รับการคุ้มครองป้องกันไว้เป็นอย่างดี เป็นการรักษาป่าไม้ไว้ไม่ให้ถูกทำลาย ทำให้ป่าต้นน้ำคงอยู่เพื่อช่วยหล่อเลี้ยงแม่น้ำสายต่าง ๆ ให้มีน้ำไหลตลอดปี
4. บรรดาสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จะเป็นเครื่องดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าไปท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้กว้างขวางยิ่งขึ้นและ จะนำมาซึ่งรายได้ ของประชาชนในท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย
5. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นเสมือนห้องทดลองสำหรับศึกษาค้นคว้าทางวิทยา ศาสตร์แขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะสาขาชีววิทยา
เครดิตข้อมูล : mkh.in.th, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช