77 จังหวัดในประเทศไทย เรียงตามความหนาแน่นประชากร

ความหนาแน่นของประชากร (Population density) เป็นมาตรวัดตัวหนึ่งที่บอกถึงจำนวนประชากรต่อพื้นที่ นิยมคำนวณค่าออกมาเป็น จำนวนคนต่อพื้นที่หนึ่งตารางกิโลเมตร ซึ่งสามารถตีความหมายค่าที่ออกมาได้ง่าย ๆ ว่าพื้นที่ใดมีความหนาแน่นของประชากรสูงแสดงว่ามีคนอาศัยอยู่แบบกระจุกตัวสูง ในขณะที่ค่าความหนาแน่นของประชากรต่ำแสดงว่ามีประชากรอาศัยอยู่ไม่กระจุกตัวมากนัก อาจจะกระจายตัวอยู่ทั่วไป อาจจะมีพื้นที่ใหญ่มาก หรืออาจจะมีพื้นที่ป่าหรือพื้นที่อนุรักษ์อยู่มาก เป็นต้น

ค่าความหนาแน่นประชากรของประเทศไทยสามารถคำนวนได้จากประชากรทั้งหมดหารด้วยขนาดพื้นที่ ซึ่งจะได้ค่าเท่ากับ 66,090,475 คน / 513,120 ตารางกิโลเมตร จะได้ค่าความหนาแน่นเท่ากับ 128.80 คนต่อตารางกิโลเมตร (ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม พ.ศ.2565, กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย มีทั้งพื้นที่ป่า ภูเขา พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ และพื้นที่แห้งแล้ง ดังนั้นการกระจุกตัวของประชากนในแต่ละพื้นที่และแต่ละจังหวัดจึงไม่เท่ากัน เรามาดูกันว่าในแต่ละจังหวัดของประเทศไทยมีความหนาแน่นของประชากรเท่าใดกันบ้าง




ความหนาแน่นประชากรในประเทศไทยแยกรายจังหวัด

ลำดับที่ จังหวัด ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.)
1 กรุงเทพมหานคร 3,502.77
2 จังหวัดนนทบุรี 2,084.06
3 จังหวัดสมุทรปราการ 1,354.68
4 จังหวัดปทุมธานี 787.45
5 จังหวัดภูเก็ต 769.55
6 จังหวัดสมุทรสาคร 675.68
7 จังหวัดสมุทรสงคราม 454.64
8 จังหวัดนครปฐม425.16
9 จังหวัดปัตตานี 377.74
10 จังหวัดชลบุรี 365.52
11 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา328.08
12 จังหวัดอ่างทอง 281.49
13 จังหวัดสิงห์บุรี 246.57
14 จังหวัดระยอง 213.79
15 จังหวัดสงขลา 193.54
16 จังหวัดนราธิวาส 181.91
17 จังหวัดมหาสารคาม 178.51
18 จังหวัดสระบุรี 178.55
19 จังหวัดหนองคาย 170.38
20 จังหวัดสุรินทร์ 168.99
21 จังหวัดราชบุรี 166.61
22 จังหวัดศรีสะเกษ 164.56
23 จังหวัดขอนแก่น 163.94
24 จังหวัดร้อยเอ็ด 155.57
25 จังหวัดนครศรีธรรมราช 155.41
26 จังหวัดสุพรรณบุรี 155.04
27 จังหวัดบุรีรัมย์ 152.76
28 จังหวัดพัทลุง 152.32
29 จังหวัดกาฬสินธุ์ 139.94
30 จังหวัดฉะเชิงเทรา 135.80
31 จังหวัดอุดรธานี 133.25
32 จังหวัดหนองบัวลำภู 131.72
33 จังหวัดสตูล 131.22
34 จังหวัดนครพนม 130.24
35 จังหวัดตรัง 129.78
36 จังหวัดชัยนาท 128.88
37 จังหวัดนครราชสีมา 128.33
38 จังหวัดยโสธร 127.74
39 จังหวัดนครนายก 122.72
40 จังหวัดยะลา 120.75
41 จังหวัดอำนาจเจริญ 118.74
42 จังหวัดลพบุรี 118.60
43 จังหวัดอุบลราชธานี 118.46
44 จังหวัดสกลนคร 118.22
45 จังหวัดพิจิตร 116.08
46 จังหวัดนครสวรรค์ 107.19
47 จังหวัดปราจีนบุรี 104.52
48 จังหวัดเชียงราย 111.29
49 จังหวัดกระบี่ 101.96
50 จังหวัดบึงกาฬ 97.95
51 จังหวัดเชียงใหม่ 89.15
52 จังหวัดลำพูน 88.67
53 จังหวัดสุโขทัย 88.18
54 จังหวัดชัยภูมิ 87.49
55 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 86.89
56 จังหวัดชุมพร 84.74
57 จังหวัดจันทบุรี 84.59
58 จังหวัดสุราษฎร์ธานี 83.28
59 จังหวัดกำแพงเพชร 82.34
60 จังหวัดมุกดาหาร 81.01
61 จังหวัดตราด 80.81
62 จังหวัดพิษณุโลก 78.80
63 จังหวัดสระแก้ว 78.22
64 จังหวัดเพชรบุรี 77.58
65 จังหวัดเพชรบูรณ์ 76.84
66 จังหวัดพะเยา 72.84
67 จังหวัดแพร่ 65.87
68 จังหวัดพังงา 64.12
69 จังหวัดระนอง 58.89
70 จังหวัดลำปาง 57.35
71 จังหวัดอุตรดิตถ์ 56.51
72 จังหวัดเลย 55.79
73 จังหวัดอุทัยธานี 48.12
74 จังหวัดกาญจนบุรี 45.90
75 จังหวัดตาก 41.70
76 จังหวัดน่าน 41.36
77 จังหวัดแม่ฮ่องสอน 22.61


จากตารางจะพบว่าจังหวัดที่มีความหนาแน่นประชากรสูงที่สุดคือกรุงเทพมหานคร โดยมีความหนาแน่นสูงถึง 3,502.77 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติของเมืองหลวงทั่วโลก ส่วนจังหวัดที่มีความหนาแน่นรองลงมาคือจังหวัดในเขตปริมณฑล คือ จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี เป็นต้น

นอกจากนี้จะพบว่าจังหวัดท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม เช่น ภูเก็ต จังหวัดชลบุรี สมุทรสาคร และพระนครศรีอยุธยาจะมีความหนาแน่นประชากรรองลงมาจากเขตเมืองหลวง ซึ่งสาเหตุก็มาจากสภาพเศรษฐกิจและการทำมาหากินที่สะดวกกว่าจังหวัดอื่น ทำให้มีการย้านถิ่นฐานของประชากรเข้าไปอาศัยอยู่สูง

ส่วนจังหวัดขนาดใหญ่ เช่น จังหวัดนครราชสีมา กาญจนบุรี และเชียงใหม่ ซึ่งมีประชากรค่อนข้างมาก แต่กลับมีความหนาแน่นประชากรต่ำ เหตุผลก็เนื่องมาจากการที่มีพื้นที่ใหญ่มาก (ตัวหารเยอะ) และพื้นที่จำนวนมากในจังหวัดเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ และพื้นที่อนุรักษ์อื่น ๆ ซึ่งไม่สามารถอยู่อาศัยได้ จึงต้องมากระจุกตัวกันอยู่ในเขตเมืองแทน

ส่วนจังหวัดที่มีความหนาแน่นของประชากรต่ำที่สุดคือจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือที่มีธรรมชาติและป่าเขาที่งดงาม ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่สูง โดยมีพื้นที่ป่าไม้ 6,753,040.05 ไร่ สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากจังหวัดเชียงใหม่ (9,556,205.76 ไร่) แต่มีพื้นที่ป่าต่อพื้นที่ทั้งหมดสูงที่สุดในประเทศไทย โดยมีพื้นที่ป่าคิดเป็น 84.65% ของพื้นที่ ประชากรส่วนใหญ่จึงอาศัยอยู่เฉพาะตามเขตเมืองและตามแนวลำน้ำเป็นหลัก ทำให้ความหนาแน่นเฉลี่ยของประชากรต่ำมาก


ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



อย่าเพิ่งซื้อบ้าน ถ้ายังไม่รู้สิ่งนี้ !!!

ซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง?

คำถาม ... จะซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง? เฉลย ... บ้านคือหนึ่งในปัจจัย 4 ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องการ และในการซื้อบ้านนั้นเป็นการตัดสินใจทางการเงินค...

ความรู้รอบตัว...แนะนำ