จำนวนประชากรประเทศไทย พ.ศ. 2565 แยกรายจังหวัดและรายภาค

ประเทศไทยของเรากำลังเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กล่าวคือมีเด็กเกิดใหม่น้อยลง ในขณะที่ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบสังคมที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศพัฒนาแล้วจำนวนมาก เช่นในยุโรป เป็นต้น

ณ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของประเทศไทยทั้งหมด ได้รายงานว่าประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 66,090,475 คน แบ่งเป็นเพศชายไทย 31,755,032 คน เพศหญิงไทย 33,351,449 คน ต่างด้าวชาย 515,583 คน และต่างด้าวหญิง 468,411 คน



ในที่นี้เราได้เรียบเรียงจำนวนประชากรประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2565 โดยแยกรายจังหวัด มาดูกันว่าแต่ละจังหวัดมีประชากรล่าสุดเท่าไหร่กันบ้าง


ประชากรประเทศไทย พ.ศ. 2565 แยกรายจังหวัด

ลำดับ
จังหวัด
จำนวนประชากร (คน)
1. กรุงเทพมหานคร 5,494,932
2. จังหวัดกระบี่ 480,057
3. จังหวัดกาญจนบุรี 894,283
4. จังหวัดกาฬสินธุ์ 970,101
5. จังหวัดกำแพงเพชร 708,775
6. จังหวัดขอนแก่น 1,784,641
7. จังหวัดจันทบุรี 536,144
8. จังหวัดฉะเชิงเทรา 726,687
9. จังหวัดชลบุรี 1,594,758
10. จังหวัดชัยนาท 318,308
11. จังหวัดชัยภูมิ 1,117,925
12. จังหวัดชุมพร 509,385
13. จังหวัดเชียงราย 1,299,636
14. จังหวัดเชียงใหม่ 1,792,474
15. จังหวัดตรัง 638,206
16. จังหวัดตราด 227,808
17. จังหวัดตาก 684,140
18. จังหวัดนครนายก 260,406
19. จังหวัดนครปฐม 921,882
20. จังหวัดนครพนม 716,647
21. จังหวัดนครราชสีมา 2,630,058
22. จังหวัดนครศรีธรรมราช 1,545,147
23. จังหวัดนครสวรรค์ 1,028,814
24. จังหวัดนนทบุรี 1,295,916
25. จังหวัดนราธิวาส 814,121
26. จังหวัดน่าน 474,539
27. จังหวัดบึงกาฬ 421,684
28. จังหวัดบุรีรัมย์ 1,576,915
29. จังหวัดปทุมธานี 1,201,532
30. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 553,298
31. จังหวัดปราจีนบุรี 497,778
32. จังหวัดปัตตานี 732,955
33. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 820,417
34. จังหวัดพะเยา 461,431
35. จังหวัดพังงา 267,442
36. จังหวัดพัทลุง 521,619
37. จังหวัดพิจิตร 525,944
38. จังหวัดพิษณุโลก 844,494
39. จังหวัดเพชรบุรี 482,950
40. จังหวัดเพชรบูรณ์ 973,386
41. จังหวัดแพร่ 430,669
42. จังหวัดภูเก็ต 417,891
43. จังหวัดมหาสารคาม 944,605
44. จังหวัดมุกดาหาร 351,588
45. จังหวัดแม่ฮ่องสอน 286,786
46. จังหวัดยโสธร 531,599
47. จังหวัดยะลา 545,913
48. จังหวัดร้อยเอ็ด 1,291,131
49. จังหวัดระนอง 194,226
50. จังหวัดระยอง 759,386
51. จังหวัดราชบุรี 865,807
52. จังหวัดลพบุรี 735,293
53. จังหวัดลำปาง 718,790
54. จังหวัดลำพูน 399,557
55. จังหวัดเลย 637,341
56. จังหวัดศรีสะเกษ 1,454,730
57. จังหวัดสกลนคร 1,145,187
58. จังหวัดสงขลา 1,431,063
59. จังหวัดสตูล 325,303
60. จังหวัดสมุทรปราการ 1,360,227
61. จังหวัดสมุทรสงคราม 189,453
62. จังหวัดสมุทรสาคร 589,428
63. จังหวัดสระแก้ว 562,816
64. จังหวัดสระบุรี 638,582
65. จังหวัดสิงห์บุรี 202,797
66. จังหวัดสุโขทัย 581,652
67. จังหวัดสุพรรณบุรี 830,695
68. จังหวัดสุราษฎร์ธานี 1,073,663
69. จังหวัดสุรินทร์ 1,372,910
70. จังหวัดหนองคาย 515,795
71. จังหวัดหนองบัวลำภู 508,325
72. จังหวัดอ่างทอง 272,587
73. จังหวัดอำนาจเจริญ 375,382
74. จังหวัดอุดรธานี 1,563,048
75. จังหวัดอุตรดิตถ์ 442,949
76. จังหวัดอุทัยธานี 326,860
77. จังหวัดอุบลราชธานี 1,869,806

จากตารางด้านบนจะพบว่ากรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่หรือจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีประชากร 5,494,932 คน ส่วนจังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดคือ จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีประชากรเพียง 189,453 คนเท่านั้น


10 จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย 2565

อันดับ
จังหวัด
จำนวนประชากร (คน)
    1 กรุงเทพมหานคร           5,494,932
    2 จังหวัดครราชสีมา 2,630,058
    3 จังหวัดอุบลราชธานี 1,869,806
    4 จังหวัดเชียงใหม่ 1,792,474
    5 จังหวัดขอนแก่น 1,784,641
    6 จังหวัดชลบุรี 1,594,758
    7 จังหวัดบุรีรัมย์ 1,576,915
    8 จังหวัดอุดรธานี 1,563,048
    9 จังหวัดนครศรีธรรมราช 1,545,147
   10 จังหวัดศรีสะเกษ 1,454,730



10 จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดในประเทศไทย 2565

อันดับ
จังหวัด
จำนวนประชากร (คน)
    1 จังหวัดสมุทรสงคราม 189,453
    2 จังหวัดระนอง 194,226
    3 จังหวัดสิงห์บุรี 202,797
    4 จังหวัดตราด 227,808
    5 จังหวัดนครนายก 260,406
    6 จังหวัดพังงา ‎267,442
    7 จังหวัดอ่างทอง 272,587
    8 จังหวัดแม่ฮ่องสอน 286,786
    9 จังหวัดชัยนาท 318,308
   10 จังหวัดอุทัยธานี 323,860


จำนวนประชากรแยกรายภาค
  • ภาคเหนือ : 6,306,831 คน
  • ภาคกลาง : 20,112,101 คน
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : 21,826,920 คน
  • ภาคใต้ : 9,496,991 คน
  • ภาคตะวันออก : 4,932,399 คน
  • ภาคตะวันตก : 3,480,478 คน

ข้อมูลจำนวนประชากรจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยนี้ เป็นข้อมูลประชากรที่ได้มีการรายงานการเกิด การตาย การย้ายถิ่นฐานอย่างเป็นทางการเท่านั้น ยังไม่ได้รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศภายใต้ข้อตกลงด้านแรงงาน (แรงงานถูกกฎหมาย) และผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยแบบผิดกฎหมาย เช่น แรงงานเถื่อน เป็นต้น ซึ่งแรงงานทั้งสองประเภทนี้มีอยู่จำนวนหลายล้านคน


ความรู้รอบตัวที่น่าสนใจ
--------------------------------



อย่าเพิ่งซื้อบ้าน ถ้ายังไม่รู้สิ่งนี้ !!!

ซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง?

คำถาม ... จะซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง? เฉลย ... บ้านคือหนึ่งในปัจจัย 4 ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องการ และในการซื้อบ้านนั้นเป็นการตัดสินใจทางการเงินค...

ความรู้รอบตัว...แนะนำ