ประวัติ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของประเทศไทย

จอมพล ป. พิบูลสงคราม หรือ หลวงพิบูลสงคราม มีชื่อเดิมคือ แปลก ขีตตะสังคะ เป็นนักการทหาร นักการปกครอง และนักการเมืองในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร์ที่ทำการยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยเป็นหัวหน้าคณะราษฎร์ฝ่ายทหารบก อีกทั้งยังเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรียาวนานที่สุดของประเทศไทยอีกด้วย โดยอยู่ในตำแหน่งนานถึง 15 ปี 11 เดือน



ประวัติ
จอมพล ป. พิบูลสงครามเกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 บิดาชื่อนายขีด ขีตตะสังคะ และมารดาชื่อ นางสำอางค์ ขีตตะสังคะ มีภูมิลำเนาอยู่ที่ปากคลองบางเขนเก่า ตำบลบางเขน อำเภอเมืองนนทบุรีจังหวัดนนทบุรี โดยบิดามารดามีอาชีพเป็นชาวสวนผลไม้ สาเหตุที่ได้ชื่อว่าแปลกเนื่องจากบิดามารดาสังเกตุเห็นว่าจอมพล ป. นั้นมีใบหูอยู่ต่ำกว่าดวงตา ซึ่งแปลกไปจากคนทั่วไปนั่นเอง

จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็ตรคนที่ 2 ในจำนวน 5 คนของพ่อแม่ โดยมีพี่ชายคนโตคือ พลตรีประกิต ขีตตะสังคะ น้องสาวคนรองคือ นางเปลี่ยน ขีตตะสังคะ น้องชายอีก 2 คนคือ นายปรุง ขีตตะสังคะ และพลตรีครรชิต ขีตตะสังคะ

การศึกษา
- โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม
- โรงเรียนนายร้อยทหารบก เหล่าปืนใหญ่
- โรงเรียนเหล่าทหารปืนใหญ่ บางซื่อ
- โรงเรียนเสนาธิการทหารบก เป็นรุ่นที่ 10
- โรงเรียนเหล่าทหารปืนใหญ่ ประเทศฝรั่งเศส
- มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ชีวิตครอบครัว
สมรสกับท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม (พันธ์กระวี) เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2459 มีบุตร-ธิดา 6 คน ได้แก่
1. พลตรีอนันต์ พิบูลสงคราม
2. พลเรือโทประสงค์ พิบูลสงคราม
3. ร้อยเอกหญิงจีรวัสส์ ปันยารชุน
4. นางรัชนิบูล ปราณีประชาชน
5. นางพัชรบูล เบลซ์
6. นายนิตย์ พิบูลสงคราม (อดีตทูตและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ)

ตำแหน่งราชการ
- นักเรียนทำการนายร้อยเหล่าปืนใหญ่ที่ 7 พิษณุโลก (ยศว่าที่ร้อยตรี)
- ประจำการเหล่าปืนใหญ่ที่ 7 พิษณุโลก (ยศร้อยตรี)
- ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ (ยศร้อยโท)
- นายทหารสนิท พลตรีหม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล
- ประจำกรมยุทธศาสตร์ทหารบก (ยศร้อยเอกและรับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงพิบูลสงคราม)
- หัวหน้ากองตรวจอากาศสำหรับใช้ทดลอง กรมจเรทหารปืนใหญ่ (ยศพันตรี)
- รองผู้บัญชาการทหารบก (ยศพันเอก)
- ผู้บัญชาการทหารบก
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
นายกรัฐมนตรี (ยศพลตรีและจอมพลตามลำดับ)


ตำแหน่งทางการเมือง
- นายกรัฐมนตรี (16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487)
- นายกรัฐมนตรี (8 เมษายน พ.ศ. 2491 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (21 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2484)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (22 กันยายน พ.ศ. 2477 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2484)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2485)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2484)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2497)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (13 ตุลาคม พ.ศ. 2492 – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2493)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (24 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2498)
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (12 กันยายน พ.ศ. 2500 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)‎
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.)
- เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)
- เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)
- เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)
- เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))
- เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))
- เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)
- เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)
- เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)
- เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)

อื่นๆ
จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นผู้ริเริ่มให้มีสิ่งใหม่ ๆ ในประเทศไทยหลายอย่าง เช่น เปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทย ริเริ่มวัฒนธรรมแบบรัฐนิยม หรือแบบอย่างที่ประชาชนควรปฏิบัติ เช่น การแต่งกาย การปฏิบัติตน และการนิยมใช้สินค้าไทย เป็นต้น นอกจากนี้ยังผลักดันให้เกิดสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย (ช่อง 4 บางขุนพรหม) รวมไปถึงการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยบูรพา รวมถึงบ้านพักคนชราบ้านบางแค เป็นต้น

จอมพล ป. พิบูลสงครามพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เนื่องจากถูกรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ลี้ภัยทางการเมืองไปยังประเทศญี่ปุ่นและถึงแก่อสัญกรรมที่นั่นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 สิริอายุ 66 ปี

Tag : นักการเมือง, ข้าราชการ, ทหาร, นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี



อย่าเพิ่งซื้อบ้าน ถ้ายังไม่รู้สิ่งนี้ !!!

ซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง?

คำถาม ... จะซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง? เฉลย ... บ้านคือหนึ่งในปัจจัย 4 ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องการ และในการซื้อบ้านนั้นเป็นการตัดสินใจทางการเงินค...

ความรู้รอบตัว...แนะนำ