ประเทศไทยมีการเลือกตั้ง ส.ส. มาแล้วทั้งหมดกี่ครั้ง?

คำถาม ... ประเทศไทยมีการเลือกตั้ง ส.ส. มาแล้วกี่ครั้ง?

เฉลย ... ประเทศไทยมีการเลือกตั้ง ส.ส. มาแล้วทั้งหมด 26 ครั้ง

ประเทศไทยของเราปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ซึ่งนายกรัฐมนตรีนั้นมาจากการเลือกโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. และสมาชิกวุฒิสภาร่วมกัน (สำหรับรัฐธรรมนูญบางฉบับ) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้รัฐสภา (ส.ส. และ ส.ว.) เป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี นับเป็นเวลา 5 ปีนับจากการเลือกตั้งครั้งแรกหลังจากที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้





รัฐธรรมนูญทุกฉบับของประเทศไทยกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนชาวไทย (ทั้งแบบทั้งหมดและบางส่วน) โดยภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ประเทศไทยของเรามีการเลือกตั้ง ส.ส. มาแล้วทั้งหมด 26 ครั้ง ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ครั้งที่ 1
วันที่ : 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476
รูปแบบการเลือกตั้ง : ทางอ้อม
จำนวน ส.ส. : 78 (จาก 156 คน)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 4,278,231 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 1,773,532 (41.45%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : -


ครั้งที่ 2
วันที่ : 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตคะแนนสูงสุด
จำนวน ส.ส. : 91 (จาก 182 คน)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 6,123,239 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 2,462,535 คน (40.22%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : -


ครั้งที่ 3
วันที่ : 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตคะแนนสูงสุด
จำนวน ส.ส. : 91 (จาก 182 คน)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 6,310,172 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 2,210,332 คน (35.05%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : -

ครั้งที่ 4-1
วันที่ : 6 มกราคม พ.ศ. 2489
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตคะแนนสูงสุด
จำนวน ส.ส. : 96 (จาก 192 คน)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 6,431,827 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 2,091,827 คน (32.52%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : -

ครั้งที่ 4-2 (เป็นการเลือก ส.ส. เพิ่มเติมจากครั้งที่ 4-1)
วันที่ : 5 สิงหาคม พ.ศ. 2489
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตคะแนนสูงสุด
จำนวน ส.ส. : 82 (จาก 186 คน)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 5,819,662 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 2,026,823 คน (34.92%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคแนวรัฐธรรมนูญ

ครั้งที่ 5-1
วันที่ : 29 มกราคม พ.ศ. 2491
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตหลายเบอร์ (รวมเขตจังหวัด)
จำนวน ส.ส. : 99 จาก (186 คน)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 7,176,891 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 2,177,464 คน (29.50%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคประชาธิปัตย์

ครั้งที่ 5-2 (เป็นการเลือก ส.ส. เพิ่มเติมจากครั้งที่ 5-1)
วันที่ : 5 มิถุนายน พ.ศ. 2492
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตหลายเบอร์ (รวมเขตจังหวัด)
จำนวน ส.ส. : 21 (จาก 207 คน)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 3,518,276 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 870,208 คน (24.27%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : -

ครั้งที่ 6
วันที่ : 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตหลายเบอร์ (รวมเขตจังหวัด)
จำนวน ส.ส. : 123 (จาก 246 คน)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 7,602,591 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 2,961,191 คน
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : -

ครั้งที่ 7
วันที่ : 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตหลายเบอร์ (รวมเขตจังหวัด)
จำนวน ส.ส. : 160 (จาก 283 คน)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 9,859,039 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 5,668,666 คน (57.50%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคเสรีมนังคศิลา

ครั้งที่ 8
วันที่ : 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตหลายเบอร์ (รวมเขตจังหวัด)
จำนวน ส.ส. : 160 (จาก 281 คน)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 9,917,417 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 4,370,789 คน (44.07%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคสหภูมิ

ครั้งที่ 9
วันที่ : 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตหลายเบอร์ (รวมเขตจังหวัด)
จำนวน ส.ส. : 219 คน
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 14,820,400 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 7,289,837 คน (49.16%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : สหประชาไทย

ครั้งที่ 10
วันที่ : 26 มกราคม พ.ศ. 2518
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตหลายเบอร์
จำนวน ส.ส. : 269 คน
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 20,243,791 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 9,549,924 คน (47.17%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคประชาธิปัตย์

ครั้งที่ 11
วันที่ : 4 เมษายน พ.ศ. 2519
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตหลายเบอร์
จำนวน ส.ส. : 279 คน
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 20,623,430 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 9,072,629 คน (43.69%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคประชาธิปัตย์

ครั้งที่ 12
วันที่ : 22 เมษายน พ.ศ. 2522
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตหลายเบอร์
จำนวน ส.ส. : 301 คน
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 21,283,790 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 9,344,045 คน (43.90%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคกิจสังคม

ครั้งที่ 13
วันที่ : 18 เมษายน พ.ศ. 2526
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตหลายเบอร์
จำนวน ส.ส. : 324 คน
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 24,224,470 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 12,295,339 คน (50.76%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคชาติไทย

ครั้งที่ 14
วันที่ : 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตหลายเบอร์
จำนวน ส.ส. : 347 คน
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 26,224,470 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 16,670,957 คน (61.43%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคประชาธิปัตย์

ครั้งที่ 15
วันที่ : 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตหลายเบอร์
จำนวน ส.ส. : 357 คน
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 26,658,638 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 16,944,931 คน (63.56%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคชาติไทย

ครั้งที่ 16
วันที่ : 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตหลายเบอร์
จำนวน ส.ส. : 360 คน
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 31,660,156 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 19,622,322 คน (59.24%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคสามัคคีธรรม

ครั้งที่ 17
วันที่ : 13 กันยายน พ.ศ. 2535
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตหลายเบอร์
จำนวน ส.ส. : 360 คน
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 31,660,156 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 19,622,322 คน (61.59%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคประชาธิปัตย์

ครั้งที่ 18
วันที่ : 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตหลายเบอร์
จำนวน ส.ส. : 391 คน
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 37,817,983 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 23,462,748 (62.04%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคชาติไทย

ครั้งที่ 19
วันที่ : 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตหลายเบอร์
จำนวน ส.ส. : 395 คน
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 38,564,836 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 24,040,836 คน
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคความหวังใหม่

ครั้งที่ 20
วันที่ : 6 มกราคม พ.ศ. 2544
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตคะแนนสูงสุด + บัญชีรายชื่อ
จำนวน ส.ส. : 500 คน (400+100)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 42,759,001 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 29,909,271 คน (69.95%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคไทยรักไทย

ครั้งที่ 21
วันที่ : 2 เมษายน พ.ศ. 2549
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตคะแนนสูงสุด + บัญชีรายชื่อ
จำนวน ส.ส. : 500 คน (400+100)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 44,572,101 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 32,341,330 คน (72.56%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคไทยรักไทย

ครั้งที่ 22 (การเลือกตั้งเป็นโมฆะ)
วันที่ : 2 เมษายน พ.ศ. 2549
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตคะแนนสูงสุด + บัญชีรายชื่อ
จำนวน ส.ส. : 500 คน (400+100)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 44,778,628 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 29,088,209 คน (64.77%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคไทยรักไทย

ครั้งที่ 23
วันที่ : 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตคะแนนสูงสุด + บัญชีรายชื่อ
จำนวน ส.ส. : 480 คน (400+80)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 44,002,593 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 32,792,246 คน (85.38%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคพลังประชาชน

ครั้งที่ 24
วันที่ : 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตคะแนนสูงสุด + บัญชีรายชื่อ
จำนวน ส.ส. : 500 คน (375+125)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 46,939,549 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 35,220,208 คน (75.03%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคเพื่อไทย

ครั้งที่ 25 (การเลือกตั้งเป็นโมฆะ)
วันที่ : 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตคะแนนสูงสุด + บัญชีรายชื่อ
จำนวน ส.ส. : 500 คน (375+125)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 43,024,042 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 20,531,073 คน (47.72%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : -

ครั้งที่ 26
วันที่ : 24 มีนาคม พ.ศ. 2562
รูปแบบการเลือกตั้ง : ระบบเสียงเดียวผสม (แบ่งเขตคะแนนสูงสุด+บัญชีรายชื่อ)
จำนวน ส.ส. : 500 คน (350+150)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : 51,239,638 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : 38,268,375 คน (74.69%)
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคเพื่อไทย

ครั้งที่ 27
วันที่ : 14 พฤษภาคม 2566
รูปแบบการเลือกตั้ง : แบ่งเขตคะแนนสูงสุด + บัญชีรายชื่อ
จำนวน ส.ส. : 500 คน (400+100)
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง : รอ กกต. ประกาศอย่างเป็นทางการ
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ : รอ กกต. ประกาศอย่างเป็นทางการ
พรรคที่ได้ ส.ส. สูงสุด : พรรคก้าวไกล


ประชาธิปไตยที่ทุกคนโหยหาต้องเริ่มจากการเลือกตั้งที่สุจริตและเที่ยงธรรม ถ้าประชาชนคนไทยเข้าคูหากาบัตรเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ใจ ไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียง เราก็จะได้ ส.ส. ที่เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง และภายหลังจากเลือกตั้งแล้ว เราต้องติดตามการทำหน้าที่ของ ส.ส. เหล่านั้นว่าได้ทำหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือว่าเอาแต่โดดประชุมและใช้อำนาจหน้าที่รังแกผู้อื่นไปวัน ๆ


อย่าเพิ่งซื้อบ้าน ถ้ายังไม่รู้สิ่งนี้ !!!

ซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง?

คำถาม ... จะซื้อบ้าน ต้องดูอะไรบ้าง? เฉลย ... บ้านคือหนึ่งในปัจจัย 4 ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องการ และในการซื้อบ้านนั้นเป็นการตัดสินใจทางการเงินค...

ความรู้รอบตัว...แนะนำ